วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

กันตรึมหรือเจรียง

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บบที่ 2

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาค้นคว้า การพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมพัฒนาเว็บบล็อกตามโครงการ เรื่อง การพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อการฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. เอกสารการพัฒนาเว็บบล็อก
2. เอกสารนโยบายกองทัพบก
3. เอกสารเกี่ยวกับแผนการเรียนรู้ KM
4. เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
5. เอกสารเกี่ยวกับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


เอกสารการพัฒนาเว็บบล็อก
บล็อก (Blog) มาจากคำว่า เว็บล็อก (Weblog) เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ปี
พ.ศ. 2543 (ค.ศ.1997) โดย จอห์น บอร์เจอร์ (Jorn Barger) เป็นผู้ใช้คำว่า Weblog ขึ้นก่อน ต่อมา ปีเตอร์ มาร์ฮอลซ์ (Peter Merholz) ได้เรียกสั้นๆว่า Blog แทนเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2545 (ค.ศ. 1999) ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2549 (ค.ศ.2003) Oxford Dictionary ได้บรรจุคำว่า Blog ในพจนานุกรมอย่างเป็นทางการ โดยตัดตัว We ด้านหน้าออกไป และหมายถึงหน้าเว็บที่ใครๆ ก็เข้าไปอ่านเรื่องที่คนเขียนเรื่องต่างๆเอาไว้ได้ จนถึงธันวาคม พ.ศ.2551 (ม.ป.ป. : 2549 :ไทยรัฐ )
บล็อกมีผู้อธิบายความหมายของบล็อกไว้เป็นจำนวนมากในที่ต่างๆ โดยผู้ให้ความหมายเหล่านี้ประกอบไปด้วยผู้เขียนบล็อกหรือบล็อกเกอร์ (Blogger) ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือปัจเจกบุคคล ได้ให้ความหมายเอาไว้ในหนังสือและตามบล็อกของตน ซึ่งจะขอยกบางส่วนมาพิจารณาเพื่อทำความเข้าในที่นี้ ดังนี้
เกติกา สายเสนีย์ ( 2548 : Keng.com) ได้ให้ความหมายบล็อกเอาไว้ว่า บล็อกคือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
ผศ.ประชิด ทิณบุตร ( 2551 : 1) ได้ให้ความหมายว่า บล็อกคือหน้าเว็บเพ็จที่เป็นเหมือนวารสารส่วนตัว ที่เปิดเป็นเวทีสาธารณะให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกระทำได้หรือใช้เฉพาะส่วนตัว โดยทั่วไปแล้วจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมเข้าทุกวัน และแต่ละบล็อกมักจะสะท้อนถึงความเป็นปัจเจกของผู้เขียนแต่ละคน
เว็บไซต์ไทยบล็อกเกอร์ ( 2551:Thaiblogger.org) ได้อธิบายความหมายว่า บล็อกเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ปฏิรูปเว็บ จากเว็บธรรมดาให้กลายเป็นเว็บที่มีปฏิสัมพันธ์ (interactive) มากขึ้น เปลี่ยนชุมชนคนเล่นเว็บ จากสังคมที่มีคนเขียนกลุ่มเล็กๆกับผู้อ่านจำนวนมาก (passive) ให้กลายมาเป็นชุมชนที่มีสมาชิกเป็นทั้งคนสร้าง content ด้วยการเขียน และเป็นนักอ่านไปพร้อมกัน (active) นอกจากนี้ มันยังช่วยลับคมความคิด แลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นเครื่องมืออันมหัศจรรย์สำหรับนักการศึกษาที่จะนำมาใช้ในการศึกษาของสังคมด้วย
สารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย ( 2552 : Wikipedia.org) ให้ความหมายว่า บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบันวิกิพีเดีย
เว็บไซต์บล็อกเกอร์( 2551: Blogger.com) ผู้ให้บริการบล็อกฟรีรายใหญ่ภายใต้ชื่อ Blogspot.com ได้ให้คำอธิบายว่า บล็อกเป็นไดอารีส่วนบุคคล ห้องฟังเทศน์ พื้นที่สำหรับความร่วมมือ เวทีแสดงออกทางการเมือง ห้องกระจายข่าว การเก็บรวบรวมลิงก์ ความคิดส่วนตัว สามารถเขียนเรื่องต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เรื่องใหม่จะปรากฏด้านบนสุด เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถอ่านสิ่งที่มาใหม่ จากนั้นจะสามารถแสดงความคิดเห็นหรือสร้างลิงก์ หรือส่งอีเมล์ถึงผู้เขียนบล็อก หรือไม่ทำอะไรเลย
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ( 2549 : tarad.com) กรรมการผู้จัดการบริษัทตลาดดอตคอม บอก บล็อกเป็นช่องทางให้คนธรรมดาสามารถ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเสนอความคิดตัวเองได้ดีมาก จะไปลงเว็บบอร์ดก็ไม่ใช่สื่อของตัวเอง เขากล่าวพร้อมกับเสริมแนวคิดเรื่องแหล่งความรู้ออนไลน์ว่า ต่อไปสื่อนี้จะเป็นแหล่งความรู้ใหม่ที่จากเดิมคนเก็บเรื่องที่ตนรู้อยู่กับตัว แต่ต่อไป เว็บบล็อกจะเป็นที่ที่ถ่ายทอดออกไปสู่วงกว้าง อย่างที่เจอมามีนักวิชาการมีโปรแกรมเมอร์เก่งๆ บางรายเขียนบล็อกได้น่าประทับใจมาก
บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ( ไทยรัฐ,2550 : 9 )ให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับเรื่องที่มีการใช้งานสื่อบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จากปัจจัย 2 ส่วน คือ คนเขียนบล็อกและคนอ่าน เพราะคนเขียนบล็อกในขณะนี้ ต่างจากเดิมที่เขียนไดอารีออนไลน์ ที่เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัว ผนวกกับการที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงในการนำเอาภาพเสียง และไฟล์วีดิโอมาใส่ลงไป เนื่องจากบล็อกเองก็คือ โฮมเพจที่มีริชคอนเทนท์จำนวนมากนั่นเอง ในอดีตคนที่มีความรู้ความสามารถสร้างผลงานขึ้นมาแล้วก็ไม่รู้จะเอาไปให้ใครดู พอเอามาลงในจุดนี้แล้วมีผลตอบรับ มีคำติชม ก็เลยทำให้มีการพัฒนาเกิดกำลังใจทำต่อ พอมีคนอ่านบล็อกมากเข้าคนเขียนก็มากตามไปด้วย บล็อกอันไหนมีเรื่องน่าสนใจ คนที่เป็นแฟนอ่านก็จะบุ๊คมาร์ค ไว้เพื่อที่จะได้ตามอ่านอย่าง ต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากพฤติกรรมใช้งานที่อ่านอย่างเดียว ก็จะเริ่มหันมาแบ่งปันคอนเทนท์ตัวเองให้คนอื่นๆ จากรูปแบบการสื่อสาร One to Many กลายเป็นแบบ Many to Many เพราะคนได้ดูมากขึ้น มาร์ค อินโกรอิลล์
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ( ไทยรัฐ,2550 :9 )ให้ความเห็นว่า ความนิยมของการเขียนบล็อกน่าจะมาจาก เทรนด์ของการผลิตคอนเทนท์เองของผู้ใช้งาน เปลี่ยนจากเดิมที่เว็บไซต์ต้องสร้างคอนเทนท์ให้คนดู เมื่อสังคมก้าวสู่การเป็นสังคมข้อมูลข่าวสารมากขึ้น บล็อกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแบ่งได้ 2 แบบ แบบแรก คือ บล็อกที่กลุ่มวัยรุ่นนิยมใช้กัน เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือหาเพื่อน ที่ได้รับความนิยมมากๆ คือ www.exteen.com, www.bloggang.com และ www.storythai.com รวมทั้ง www.truelife.com เอง ส่วนอีกแบบจะเป็น บล็อกเสนอเกี่ยวกับข่าวสาร สายงานบริการมัลติมีเดีย บ.ทรูฯ ให้ความเห็นอีกว่า เว็บบล็อกของทรูไลฟ์อาจต่างจากเว็บอื่นๆ เพราะเน้นการสะท้อนภาพของการคอนเวอร์เจนซ์ จึงมีหลายอย่างรวมอยู่ในเว็บเดียว อาทิ บล็อก แชท และโฟโต้อัลบัมเป็นต้น มีผู้ใช้งานประมาณ 10,000 บล็อก อย่างไรก็ตามยังมีเว็บบล็อกของต่างประเทศด้วย เช่น มายสเปซ www.myspace.com แต่คนไทยไม่ค่อยนิยม เพราะข้อจำกัดทางภาษา ขณะที่ บริการอัลบั้มภาพออนไลน์ ความนิยมมาจากการต่อยอดกระแสการถ่ายภาพสติกเกอร์ตามตู้ ผนวกกับความง่ายขึ้นของเทคโนโลยีภาพดิจิตอล รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่าเมื่อก่อ
จากความหมายของบล็อกดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า บล็อกคือ สื่อส่วนบุคคลบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว เพื่อเผยแพร่และแบ่งปันให้คนอื่นๆได้อ่าน โดยผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น หรือให้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ และการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลานั่นเอง

วัตถุประสงค์ของการสร้างบล็อก
บล็อกคือสื่อส่วนบุคคล หรือสื่อภาคพลเมือง (Citizen Journal) ประเภทหนึ่ง วัตถุประสงค์ของการสร้างบล็อกก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความคิด ความเห็น ความรู้ ของผู้สร้างบล็อก (Blogger) หรือ ผู้สื่อข่าวพลเมือง (Citizen Reporter) ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำบล็อกจึงเกี่ยวพันกับหลักและทฤษฎีการสื่อสาร ไม่ว่าผู้สร้างบล็อกจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โดยทฤษฎีการสื่อสารมวลชนได้กำหนดหน้าที่ของสื่อไว้เป็นเบื้องต้น 4 ประการ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการสร้างบล็อกจึงน่าจะจัดอยู่ใน 4 ประการนี้ได้แก่
1. เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ผู้ส่งสารให้ข้อมูล ข่าวสารที่ตนมีอยู่แก่ผู้รับสาร ซึ่งเรา
ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อให้ความรู้ ผู้ส่งสาร ให้ความรู้แก่ผู้รับสาร เพื่อพัฒนาการรับรู้ สติปัญญา
เรียกว่าการศึกษานั่นเอง
3. เพื่อให้ความบันเทิง ผู้ส่งสารให้ความบันเทิงด้านต่างๆ แก่ผู้รับสาร
4. สร้างความพึงพอใจ ผู้ส่งสาร เสนอสารให้แก่ผู้รับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ
อย่าง เพื่อให้ผู้รับเกิดความพึงพอใจ คล้อยตาม เห็นดีเห็นงามกับผู้ส่งสาร
บล็อกทั้งหลายที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ แม้จะมีเนื้อหาหลากหลายผู้สร้างบล็อกหรือบล็อก เกอร์ กระจายอยู่ทุกประเทศทั่วโลก แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่มีอยู่หลากหลายแล้ว หากจัดเป็นหมวดหมู่ก็จะสามารถสังเคราะห์เข้าไว้ในข้อใดข้อหนึ่ง ของทั้ง 4 ข้อข้างต้น ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสื่อทุกชนิด สรุป บล็อกจึงเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่สร้างและดำเนินงานโดยปัจเจกบุคคล ที่เสนอเนื้อหาตามความรู้ และความถนัดของตนเอง มีอิสระที่จะเสนอรูปแบบและเนื้อหาตามสิทธิ์และเสรีภาพในการแสดงออก ที่รับรองโดยหลักแห่งสิทธิมนุษยชน กฎหมายและศีลธรรม ซึ่งการกำกับควบคุมเนื้อหาที่นำเสนออกสู่สาธารณะนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความสำนึกและความรับผิดชอบของผู้สร้างบล็อกหรือบล็อกเกอร์เป็นสำคัญนั่นเอง

การพัฒนาเว็บบล็อก
กลุ่มออนไลน์ เซอร์วิส บริษัท ไมโครซอฟท์ โอเปอเรชั่นส์ พีทีอี จำกัด ( กรุเทพธุรกิจ , 2550 : 17 ) กล่าวว่า บริษัทได้ทำการสำรวจออนไลน์ผู้ใช้บล็อกในประเทศไทยปีที่ผ่านมา จำนวนกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,000 คน พบว่าไทยมีผู้ใช้เยี่ยมชมบล็อก (Visiting Blog User) ของไมโครซอฟท์ผ่านบริการวินโดว์ส ไลฟ์ สเปซ ราว 1.7 ล้านราย คิดเป็น 20% ของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่มีกว่า 8.4 ล้านรายผลสำรวจยังระบุว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของบล็อกเป็นเพศหญิงมากกว่าชาย โดยหญิง 57% และชาย 43% ทั้งยังพบว่า 57% ของผู้ใช้บล็อกมีอายุต่ำกว่า 25 ปี และเหตุผลหลักที่อ่านบล็อก 54 % ระบุเพื่อความบันเทิง และ 41 % เพื่อการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อน ส่วนหัวข้อที่น่าสนใจในบล็อก ประกอบด้วย เทคโนโลยี 32% ท่องเที่ยว 14 % และการศึกษา 10 % ขณะเดียวกัน ตัวเลขผลสำรวจข้างต้น ยังสะท้อนให้เห็นว่า บล็อกจะเป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลให้กับผู้โฆษณาสินค้า เนื่องจากการใช้บล็อกจะเป็นเครือข่ายของครอบครัวและเพื่อน ทำให้เนื้อหาในบล็อกที่เกี่ยวกับข้อมูลฟังก์ชั่นสินค้า จะเป็นเครื่องมือการตัดสินใจซื้อสินค้า และการใช้จ่ายตลาดโฆษณา ด้านสินค้าที่ใช้โฆษณาออนไลน์ยังมีกลุ่มสื่อสาร และธนาคารเป็นหลัก เช่น เอไอเอส ดีแทค ทรู ซัมซุง ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น แกรนท์ วัตตส์
แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย ( ไทยรัฐ 2550 : 9 ) ให้ความเห็นว่า แนวโน้มในการมีส่วนร่วมในสื่อออนไลน์ หรือ Social Media ในประเทศไทยยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ก็ถือว่าอยู่ในจุดที่มีการพัฒนาตามประเทศอื่นๆ ได้ค่อนข้างรวดเร็ว แต่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยและกฏระเบียบการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลไทย นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการผลักดัน การใช้สื่อออนไลน์ให้เป็นที่ยอมรับได้รวดเร็วขึ้น เว็บบล็อกหรือเว็บไซต์แชร์รูปภาพนั้น จะต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วค่อนข้างสูง เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ADSL โดยคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากของประเทศไทย โดยเฉพาะตามต่างจังหวัด ยังคงใช้ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไดอัลอัพ (dial-up) ที่มีความเร็วแค่ 54 Kbps แบบเดิมๆ อยู่ นอกจากนี้แล้ว การที่รัฐบาลปิดกั้นเว็บไซต์บางประเภท ที่ถือว่าไม่เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ ยูทูวป์ (YouTube) ก็ยังมีผลให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลออนไลน์ของคนไทย มีค่อนข้างมีข้อจำกัด มาร์ค อินโกรอิลล์
“ บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ( ไทยรัฐ, 2550 : 9 ) ขณะนี้ จะเห็นสื่อหลายสื่อรวมถึงเว็บไซต์ดังๆ เปิดบริการบล็อกให้คนธรรมดาได้เสนอข่าว เช่น เดอะเนชั่น ซีเอ็นเอ็น หรือเว็บเกี่ยวกับการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ จะกระจายไปยังทุกกลุ่ม เนื้อหาบนบล็อกกลุ่มนี้มีเนื้อหาสาระสูง บางเว็บก็เป็นข่าวที่มาจากชาวบ้านจริงๆ ไปเจอเหตุการณ์อะไรก็เอามาโพสต์ให้เป็นข่าว ดังนั้นสื่อบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ใช้กลุ่มเดียวแล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรหากมีบล็อกก็เอาคอนเทนท์ที่มีอยู่มาสร้างให้เกิดประโยชน์ได้ความนิยมบริการอัลบั้มภาพออนไลน์ว่า อัลบั้มภาพออนไลน์ก็มีกระแสความนิยมเหมือนกันกับบล็อก จากเดิมที่ตัวอุปกรณ์ดิจิตอลมีราคาแพง แต่เมื่อกล้องดิจิตอลถูกลง โทรศัพท์มือถือก็ถ่ายรูปได้ดี มีชุมชนผู้ใช้งานที่ใหญ่ขึ้น ความจุของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากขึ้น และราคาถูกลง ทำให้คนมีของดีๆ ก็อยากแบ่งปันกันให้คนอื่นได้ดู ทำให้บริการภาพถ่ายได้รับความนิยม เพราะแสดงความเป็นตัวตนของเจ้าของภาพได้ และยังได้การยอมรับจากชาวออนไลน์ เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากก็ต้องการหาเพื่อน ทำให้คนที่มีคอนเทนท์ดีๆ ย่อมสร้างเพื่อนออนไลน์ได้มากกว่า ต่อบุญ พ่วงมหา
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ( ไทยรัฐ, 2550 : 9 )อัลบั้มภาพออนไลน์ได้รับความนิยม คือ การอัพโหลดภาพได้เร็วขึ้น มาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ขึ้นอยู่กับการใช้แอพลิเคชันของทางเว็บไซต์ และความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้น เมื่ออัพโหลดแล้วผู้ใช้สามารถออกแบบปรับแต่งภาพได้เอง ลดขนาดภาพได้ง่ายมากขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่เชื่อมต่อแบบไดอัลอั้ม รวมทั้งเรื่องนี้ไม่ต้องใช้ความรู้มากนัก เมื่อความนิยมมากขึ้น การถ่ายรูปลงอินเทอร์เน็ตก็เปลี่ยนไป จากภาพถ่ายแปะไว้บนเว็บไซต์ ก็เป็นอัลบั้มภาพออนไลน์ ที่มีให้บริการมากมาย ความจริงคนต้องการที่ๆ เก็บรูปภาพไว้ได้นานๆ หากพวกเขามีไฟล์รูปภาพจำนวนมากๆ เขาก็จำเป็นที่จะต้องมองหาเว็บไซต์ที่สามารถฝากรูปไว้ได้ตลอดชีวิต ทรูเองก็มีบริการอัพโหลดสแควร์ เพื่อรองรับตรงนี้อยู่เช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นรูปแบบธุรกิจที่ชัดเจน ถือเป็นบริการช่วยสร้างกราฟิกบนเว็บไซต์มากกว่า เพราะรายได้จากอินเทอร์เน็ตยังมาจากโฆษณาเป็นหลัก
บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย สุพจน์ ศรีนุตพงศ์ ( ประชาชาติธุรกิจ, 2548 : 30)ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเว็บบล็อก (Weblog) มากกว่า 100 ล้านรายทั่วโลก ซึ่งในเมืองไทยมีเว็บบล็อกอยู่ประมาณ 10 ราย ส่วนใหญ่มีรูปแบบเป็นไดอารี่ออนไลน์และให้บริการฟรี จึงไม่ได้มีรายได้จากผู้ใช้บริการ แต่มาจากการขายพื้นที่โฆษณาต่างๆ แนวโน้มการใช้งานเว็บบล็อกจะไม่ได้มีรูปแบบแค่เว็บไดอารี่ แต่จะมีการประยุกต์การใช้งานในเชิงธุรกิจ เช่น การตั้งบล็อกขึ้นเพื่อเป็นช่องทางสื่อสารและนำเสนองานระหว่างผู้ร่วมงานในแต่ละโปรเจ็กต์ เป็นต้น โดยคาดว่าอีกประมาณ 3-4 ปีจะสามารถให้บริการวิดีโอ บล็อกและออดิโอ บล็อก ซึ่งแสดงเนื้อหาทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้ บล็อก จำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ผู้ให้บริการจึงต้องพัฒนาฟีเจอร์ให้สามารถรองรับการใช้งานดังกล่าวได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทำได้แล้ว แต่การใช้งานคอนเทนต์ประเภทเสียงและวิดีโอยังมีปัญหาอยู่ เนื่องจากต้องใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ซึ่งยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ดังนั้นอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เว็บบล็อกรูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้นคาดว่าอีก 4-5 ปี การใช้งานเว็บบล็อกจะได้รับความนิยมไม่แพ้การสื่อสารผ่านอีเมล์และเว็บบอร์ด ซึ่งในต่างประเทศ เช่น อเมริกา ที่เป็นต้นแบบของเว็บบล็อก มีการใช้งานเว็บบล็อกในการทำธุรกิจ, งานข่าว และการหาเสียงทางการเมือง โดยไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดให้บริการเว็บบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ space.msn.com โดยให้พื้นที่การใช้งานฟรี 10 Mbps ไม่คิดค่าบริการ
บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์เซ็นเตอร์ จำกัด ปรเมศร์ มินศิริ (ประชาชาติธุรกิจ, 2548 : 30 )
เจ้าของเว็บไซต์ kapook.com วางแผนจะเปิดให้บริการเว็บบล็อก ในรูปแบบคิดค่าบริการช่วง
ไตรมาสแรกของปีนี้ ผ่านทางเว็บไซต์ kapookclub.com ซึ่งเป็นเว็บสาขาของเว็บไซต์ kapook.com โดยผู้ใช้บริการจะได้รับพื้นที่ฟรี 5 Mbps และหากต้องการพื้นที่ใช้งานอีกก็สามารถซื้อเพิ่มได้ แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะคิดอัตราค่าบริการอย่างไรก่อนหน้านี้บริษัทได้ทดลองให้บริการเว็บบล็อกกับสมาชิกกลุ่มหนึ่งของเว็บไซต์ และได้รับฟีดแบ็ก ว่าต้องการมูลค่าเพิ่มมากกว่าพื้นที่เว็บไซต์ธรรมดา จึงวางแผนจะให้บริการคอนเทนต์ด้านบันเทิงเพิ่ม อีกทั้งยังได้พัฒนาฟีเจอร์ให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายในการประยุกต์การใช้งานเว็บบล็อกเพิ่มขึ้น เช่น ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
บริษัท อินเตอร์เน็ต มาร์เก็ตติ้ง จำกัด วันฉัตร ผดุงรัตน์ ( ประชาติธุรกิจ, 2550 : 9 )
เจ้าของเว็บไซต์ pantip.com เปิดเผยว่า บริษัทเปิดให้บริการเว็บบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ bloggang.com ประมาณ 2 เดือนแล้ว มีจุดประสงค์เพื่อเป็นบริการเสริมให้แก่สมาชิกของพันทิปดอตคอม ที่มีอยู่กว่า 400,000 ราย ได้มีชุมชนในการแสดงตัวตน ซึ่งไม่ได้วางแผนจะเก็บค่าบริการแต่อย่างใด โดยขณะนี้มีสมาชิกเข้ามาใช้บริการแล้วประมาณ 4,000 ราย โดยที่บริษัทได้พัฒนาฟีเจอร์ให้สามารถรองรับการใช้งานได้ 20,000 ราย
กติกา สายเสนีย์ ( เก่งดอทคอม, 2550 : 30 )กระแสบล็อกจะเริ่มมีใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น ใช้เป็นมาร์เก็ตติ้งทูลในการทำตลาดผลิตภัณฑ์ และเป็นสื่อที่ใช้ในการมาร์เก็ตติ้ง อนาคตของบล็อกในไทยและต่างแดน ที่ปัจจุบันพลิกโฉมออกสู่วงกว้างมากกว่าในยุคแรกมาก ตัวบล็อกจะมีความเฟรนด์ลี่มากกว่าทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ซึ่งเมืองไทยส่วนใหญ่ยังไม่เห็นตรงจุดนี้ มีใช้ในเชิงส่วนตัวเหมือนไดอารี่มากกว่ากติกากล่าว พร้อมชี้ประเด็นสำคัญต่อว่า ในเมืองนอกมีการใช้เพื่อธุรกิจมากกว่าในไทย จนภาคธุรกิจทางโน้นเริ่มสนใจกันอย่างจริงจัง แบรนด์ดังๆ อย่างเช่น Vespa มีการจ้างพนักงานฟูลไทม์ 2 คนมาคอยอัพเดตข้อมูลต่างๆ ลงเว็บ (www.vespaway.com) สำหรับกลุ่มคนที่สนใจ เหมือนเป็นการสร้าง brand awareness ขึ้นตลอดเวลา
บริษัทอินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน
( กรุงเทพธุรกิจ, 2550 : 9 )ระบุว่า ในปี2552 คาดว่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคน และจะถึง 10 ล้านคนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ราว 2 ล้านคนต่อวัน หรือราว 54 ล้านเพจวิวต่อเดือน จากสถิติของกระทรวงไอซีที พบว่า ประมาณ 93 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนมีโทรทัศน์ และ 63 เปอร์เซ็นต์มีสื่อวิทยุ และที่น่าสนใจ คือ วิทยุชุมชน มีจำนวน 2.3 พันสถานี ในปี 2549 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 7 ล้านคน ซึ่งจำนวนนี้มีนัยสำคัญเพียงพอ โดยกลุ่มคนใช้อายุเฉลี่ย 15 ปีขึ้นไป กระทั่งถึง First Jobber คนทำงาน และยังได้ขยายลงไปยังคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ ต่ำกว่า 15ปี ขณะเดียวกัน วัยกว่า 40 ปีก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้มีการขยายฐานออกไป เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ในการทำธุรกิจในอินเทอร์เน็ต และหากรวมจำนวน ทั้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและมือถือ น่าจะเป็น 37 ล้านคน ตารางผู้ใช้อินเทอร์เน็ต สหรัฐอเมริกา 153 ล้านคน จีน 86 ล้านคน ไทย ปี 2549 7 ล้านคน ปี 2550 8 ล้านคน
การสำรวจออนไลน์ของไมโครซอฟท์ที่ชื่อว่า Blogging Thailand : A Windows Live Report ( ประชาชาติธุรกิจ, 2550 ฉบับที่ 3865 : 38 )ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อข้อมูลการพัฒนาการใช้บล็อกต่อไป โดยสำรวจกลุ่มผู้ใช้เว็บท่าเอ็มเอสเอ็นในประเทศไทย 1,000 คน ระบุว่า จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 8.4 ล้านคนมีกว่า 21% ที่มีการใช้บล็อก อ่านหรือเขียนบันทึกแบบออนไลน์ สำหรับหัวข้อบล็อกที่คนนิยมงานสูงสุด ได้แก่ เทคโนโลยี, การท่องเที่ยว, การศึกษา และเหตุการณ์ข่าวสาร เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยมีมูลค่าตลาดโฆษณารวม 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นโฆษณาออนไลน์เพียง 1% แต่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตเพิ่มไม่ต่ำกว่าปีละ 25% เนื่องจากการพัฒนาคอนเทนต์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นสื่อใหม่ที่เข้าถึงคนในกลุ่มเป้าหมายโดยตรง อย่างไรก็ตาม อีก 6 เดือนข้างหน้า ไมโครซอฟท์มีแผนที่จะพัฒนาให้คอนเทนต์ดังกล่าวรันบนพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือได้ด้วย เพราะไทยมีสัดส่วนผู้ใช้มือถือกว่า 50% ของประชากรทั้งประเทศ หากมีซอฟต์แวร์ที่รองรับกับมือถือได้ ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ประชากรในประเทศไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น
จากการพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกในปัจจุบัน ที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว จึงสรุปได้ว่า บล็อกจึงเป็นทางเลือกใหม่ ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นและเชิงธรกิจด้านการข่าว บริการ เช่นในประเทศไทย บล็อกโอเคเนชั่น ไฮไฟซ์ และในอนาคตบล็อกมีแผนที่จะพัฒนาให้คอนเทนต์ดังกล่าวรันบนพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือได้ด้วย เข้าสู่ตลาดธุรกิจด้านการบริการต่าง ๆ ได้รวดเร็ว

เอกสารนโยบายกองทัพบก
นโยบายรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ( 2551 : 2.17) พิจารณาใช้สื่อต่างๆ ของหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหมดำเนินการประชาสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อถือศรัทธา ชื่อเสียง เกียรติภูมิ ภาพลักษณ์ที่ดีของกระทรวงกลาโหม และสถาบันทหารในภาพรวม ให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและประชาคมโลก
นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานของผู้บัญชาการทหารบก (ข่าวทหารบก ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 2546 : 1 )การพัฒนากองทัพบกไปสู่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ทันสมัยในการปฏิบัติภารกิจควบคุมบังคับบัญชา และการบริหารจัดการกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพของกองทัพบกให้มีความทันสมัย ก้าวหน้า สามารถตอบสนองนโยบาย e – Government ของรัฐบาลได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม
e -Intelligence การรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว ฉับไว จากสารพัดแหล่งทั้งภายในและภายนอกกองทัพบก ข้อมูลมีความทันสมัยและทันเหตุการณ์ สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานได้ในเวลาเกือบจะทันทีทันใด
e-Analysis การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ มีความหลากหลายในหลายมิติ ด้วยระบบการวิเคราะห์และนำเสนอที่มีความสมบูรณ์และชัดเจนในคำตอบ
e-Terrain ระบบการนำเสนอพื้นที่ปฏิบัติการที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่ง ทั้งภาพกราฟิกและที่มิใช่ภาพ เพื่อประกอบกันขึ้นเป็นระบบเครือข่ายด้านการข่าวที่มีความสมบูรณ์ของข้อมูลให้มากที่สุด ทั้งนี้จะได้มีการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศ(Geo-Information System) ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบภูมิสารสนเทศแห่งชาติอย่างไร้รอยต่ออีกด้วย

กรอบความคิดเบื้องต้นในการพัฒนากองทัพไปสู่กองทัพบกอิเล็กทรอนิกส์
1. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำระบบ Inventory System (e-Inventory) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้านส่งกำลังบำรุง และการจัดทำระบบควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ให้เสร็จภายใน 6 เดือน
2. จัดทำระบบฐานข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Soldier) เพื่อผลักดันให้กองทัพบกใช้ระบบ บัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ (e-Card) แทนบัตรต่างๆ ของกองทัพบก เพื่อให้ทราบข้อมูลกำลังพล และบริหารจัดการกำลังพลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ให้หน่วยงานต่างๆในกองทัพบกดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบการจัดหาอิเล็ก ทรอนิกส์ (e-Auction และ e-Procurement) ที่พัฒนาขึ้นมาเองให้เกิดการประหยัดงบประมาณ และมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรของกองทัพบกอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) แจกจ่ายหน่วยงานต่างๆ ทดลองใช้งานแทนการลงนามในเอกสารเวียนทราบเพื่อเป็นการพัฒนาไปสู่ระบบสำนักงานไร้กระดาษ (Paperless office)
5. ทุกหน่วยงานในกองทัพบกจะต้องสามารถสื่อสารผ่านทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (e-Mail) ได้และสามารถส่ง ข้อมูลถึงกันได้ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Format)

การดำเนินงานของกองทัพบกที่ส่งเสริมการดำเนินงานไปสู่กองทัพบกอิเล็กทรอนิกส์
(e – Army)
1. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำกัดด้านงบประมาณ และสอดคล้องกับนโยบายตลอดจนสั่งการของรัฐบาล สมควรที่กองทัพบกจะได้ดำเนินการด้าน e-Army อย่างเป็นขั้นเป็นตอนดังนี้
2. การสนองตอบสั่งการของรัฐบาลในเรื่อง e-Government
2.1 ผู้บริหารองค์กรต้องมี e-Mail และกระบวนการตอบรับ e-Mail ซึ่งหมายความว่า ตั้งแต่ผู้อำนวยการกองขึ้นไป จะต้องมี e-Mail Address และเริ่มการติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยใช้การส่งจดหมายอีเล็กทรอนิกส์
2.2 ทุกส่วนราชการจะต้องเปิด Web Site ของหน่วย เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน โดยจะต้องรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยและถูกต้องอยู่ตลอดเวลา
2.3 ทุกส่วนราชการจะต้องจัดให้มี Web Board และไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ตอบกลับในหน้า Web Site ของหน่วยเอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อ และมีสัมพันธ์กับกองทัพกองทัพบก กับ ประชาชน (G 2 C)
2.3.1.ให้ประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสาร และบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้โดยง่าย
2.3.2. เป็นการบริการ ณ จุดเดียว (One Stop Service) สามารถเข้าถึงข้อมูล และการบริการต่างๆ ของกองทัพบก
2.3.3. สร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธา และความอบอุ่นใจแก่ประชาชนแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา พ.ศ.2551-2554 มนตรี ชมพูจันทร์
( 2551 : 6 ) ยุทธศาสตร์กระทรวงกลาโหมอิเล็กทรอนิกส์ (e - Defence) ด้านการกำลังพล (e-Personnel) เพื่อให้สายงานด้านการกำลังพลของกระทรวงกลาโหมเป็นส่วนรวม ในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของกำลังพลทั้งในและนอกสถานที่ โดยหน่วยหัวหน้าสายวิทยาการเป็นผู้จัดทำฐานความรู้ (Knowledge Base) จัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์(e-Library) จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ และการฝึกอบรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning และ e-Training) สำหรับเผยแพร่บนเว็บไซต์ รวมทั้ง สถาบันการศึกษาทางทหาร ในระดับต่างๆ ร่วมกันพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนทหาร(Military School Net) สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลฐานความรู้เพื่อใช้ร่วมกัน นอกจากนี้มีการจัดทำฐานข้อมูลในงานด้านกำลังสำรอง และสวัสดิการ เพื่อให้บริการแก่ทหารและครอบครัวทหาร

เอกสารเกี่ยวกับแผนการเรียนรู้ KM
กระบวนการจัดการความรู้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายและจุดประสงค์ จำเป็นต้องมีการเขียนแผน การเรียนรู้ ความคาดหวังทั่วไป (เป้าหมาย) องค์กรมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนในเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อปรับปรุงในเรื่องความรู้ เช่น องค์กรยังขาดความรู้ที่จำเป็นต้องมี หรือองค์กรไม่ได้รวบรวมความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ ไม่ทราบว่าคนไหนเก่งเรื่องอะไร ฯลฯ และมีวิธีการที่ชัดเจนในการแก้ไข ปรับปรุง องค์กรมีการแสวงหาข้อมูล/ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรที่มีการให้บริการคล้ายคลึงกันอย่างเป็นระบบและมีจริยธรรมแผนการจัดการความรู้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ( 2549 : 19 ) แผนการเรียนรู้แต่ละแผนควรพัฒนา มาจากหน่วยการเรียนรู้ เนื่องจากหน่วยการสอนตามปกติ มักจะใช้เนื้อหาเป็นส่วนนำ และอาจจะไม่กล่าวจำเพราะ ลงไปถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่จำเป็นในบทเรียนแต่ละวัน วิธีการเขียนแผนการเรียนรู้ จึงช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แผนการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2537 : 133 ) ให้ความหมายของ แผนการสอน หมายถึง การวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง โดยกำหนดสาระสำคัญจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ / แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม นพ.วิจารณ์ พานิช (ประชาชาติธุรกิจ 2550 : 5 )ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
5. การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด ขุมความรู้ ออกมาบันทึกไว้
6. การจดบันทึก ขุมความรู้ และแก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า จัดการความรู้ จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
2. การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
3. ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร
4. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึง สัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

การตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง
การจัดการระบบการจัดการความรู้
แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. คน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป

หัวใจของการจัดการความรู้
มีผู้รู้ได้กล่าวถึง KM หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า หัวใจของ KM อยู่ที่ไหนได้ โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ KM เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ
( Hierarchy of needs ) ของ Mcgregor ได้ โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team)
1. Knowledge is Power : ความรู้คือพลัง
2. Successful knowledge transfer involves neither computers nor documents but rather in interactions between people. (Thomas H Davenport) : ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน
3. The great end of knowledge is not knowledge but action: จุดหมายปลายทางสำคัญ ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้ แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ
4. Now the definition of a manager is somebody who makes knowledge productive : นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือ ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล
จะเห็นว่า จากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าว พอทำให้มองเห็นหัวใจของ KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลัง หรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่า มีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) และองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) บดินทร์ วิจารณ์ (กรมวิชาการ,2549 : 23 )ได้กล่าว ว่า การจัดการความรู้ (KM) สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติให้ได้ ใช้ภาษาเดียวกัน สื่อความหมายกันให้ได้ การเรียนรู้ของบุคคลหัวใจสำคัญอยู่ที่เราจะได้เรียนรู้จากการสอนคนอื่น (Learning from Teaching) และ สิ่งที่สำคัญของการจัดการความรู้ ก็คือ เรื่องของคน การพัฒนาคน คนพัฒนาตนเอง การวางแผนทำงาน การจัดลำดับความสำคัญ ของงาน ขององค์กร เครื่องมือในการจัดการความรู้ กรมการปกครอง แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) การปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 30 ม.ค.2549 ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)
2. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
ทั้ง 2 ส่วน จะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล ขณะเดียวกันในแต่ละ ส่วนก็จะมีโครงการและกิจกรรมของแต่ละสำนัก กอง รองรับ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 15 โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่มีความสำคัญอีกงานหนึ่ง ที่ต้องการ พลังการมีส่วนร่วมของทุก ๆ ส่วน ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ ในการที่จะก่อเกิดการรวบรวมสะสมองค์ความรู้ การใช้ประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหา การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องมือที่ช่วยในการ เข้าถึง ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit
2. เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอด โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือชุมชนแห่งการเรียนรู้หรือชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice : COP)
กรมวิชาการ ( 2539 : 149 ) ให้ความหมายของแผนการเรียนการสอน หมายถึง เอกสารที่ได้เตรียมการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้อย่างละเอียดชัดเจน ซึ่งครูหรือผู้อื่นสามารถนำเอกสารแผนการสอนนี้ไปสอนได้เลย

ขั้นตอนในการพัฒนาชุดฝึกอบรม มีผู้ให้ความสำคัญ ดังนี้
ชมนาด พงศ์นพรัตน์ ( 2526 : 28-30 , อ้างถึงใน ธีรศักดิ์ อุบลรัตน์. 2543 : 15-23)
ขั้นที่ 1 พิจารณาหลักสูตรว่ามีองค์ประกอบและรายละเอียดครบถ้วนตามหัวข้อต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่
1. เหตุผลและความจำเป็นชัดเจนและครบถ้วนหรือยัง
2. วัตถุประสงค์สอดคล้องกับเหตุผลและความจำเป็นหรือไม่
3. หลักสูตรการฝึกอบรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือไม่และมีหัวข้อวิชาครบถ้วนหรือยัง
4. เทคนิคการฝึกอบรมที่ใช้ในการฝึกอบรมได้ระบุไว้หรือยัง
5. ระยะเวลาฝึกอบรมและกำหนดการฝึกอบรมถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่
6. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าอบรมได้ระบุชัดเจนหรือยัง
7. การประเมินผลและการติดตามผลได้ชี้แจงวิธีการชัดเจนหรือไม่
8.การรับรองผลการฝึกอบรมมีความจำเป็นหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับ อย่างครบถ้วน
ขั้นที่ 2 ในแต่ละหัวข้อวิชาของหลักสูตร ควรพิจารณาส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์หัวข้อวิชาสอดคล้องกับหัวข้อวิชาหรือไม่ และระบุพฤติกรรมอะไรบ้างที่ผู้เข้ารับการอบรมกระทำหลังจากการฝึกอบรมนั้นแล้ว
2. เนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเวลาในการกำหนดเนื้อหาควรเรียง ลำดับว่าควรจะรู้อะไรก่อนหลัง โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
3. พิจารณาพฤติกรรมหรือความรู้เดิมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า เคยเรียนรู้หรือมีทักษะอะไรมาแล้ว
4. พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และประสบการณ์ที่ผู้เข้าอบรมมีอยู่แล้วกับพฤติกรรมที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ว่า ควรจะบรรจุเนื้อหาอะไรที่จะทำให้ผู้เข้าอบรมบรรลุวัตถุประสงค์นั้น
5. นำเนื้อหาเหล่านั้นมาจัดว่าอะไรเป็นประเด็นหลักและประเด็นย่อย
6. กำหนดว่าจะใช้วิธีการอบรมหรือเทคนิคการอบรมอย่างไร รวมทั้งจะใช้อุปกรณ์การสอนอะไรบ้างที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาในประเด็นต่าง ๆ และเวลาที่ใช้แต่ละวิชา
ขั้นที่ 3 ทำแผนการอบรมโดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 2 มารวบรวมรายละเอียดของเนื้อหา วิธีการ และอุปกรณ์ แล้วเขียนในแบบฟอร์มแผนการอบรม ซึ่งประกอบด้วย ใบนำและแผนการอบรม การเขียนเนื้อหาในแผนการอบรมเขียนได้ 2 ลักษณะ คือ
1. เขียนแต่ละประเด็น ทั้งประเด็นสำคัญ ประเด็นย่อย ไม่ต้องเขียนรายละเอียดในกรณีผู้เขียนทำแผนการอบรมใช้เอง แล้วรู้เนื้อหาละเอียดแล้ว
2. เขียนอย่างละ เอียดว่า จะอบรมหรือพูดอะไรในกรณีที่ผู้เขียนทำแผนการอบรมเพื่อให้ผู้อื่นนำไปใช้ ซึ่งเป็นแนวทางในการสอนที่ให้รายละเอียดมากกว่าลักษณะแรก ในการเสนอเนื้อหาในแผน การอบรมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
2.1 การ นำเรื่อง ประกอบด้วยแนะนำวิชาการเชื่อมโยงกับวิชาก่อนวัตถุ ประสงค์ เชิงพฤติกรรม ประเด็นสำคัญ เหตุผลที่มีวิชานี้ และระบุประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับจากวิชานี้
2.2 เนื้อหาตามที่กล่าวมาแล้วในขั้นที่ 2 เมื่อจบแต่ละประเด็นสำคัญ ควรมีการสรุปตรวจสอบความเข้าใจ
2.3 บทสรุป ประกอบด้วย การสรุปประเด็นสำคัญของทั้งหมด การเชื่อมโยงกับวิชาต่อไปแต่ละขั้นตอนในการนำเสนอระบุเวลาที่ใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น แผ่นใส หมายเลขเอกสาร หมายเลข แผนภูมิและหมายเลข เป็นต้น ถ้าหากมีคู่มือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในวิชานั้นก็ระบุให้ชัดเจนด้วยนำแผนการอบรมที่เขียนมาทดลองก่อน ปรับปรุงให้เหมาะสมกับเวลา เนื้อหา และวิธีการ แล้วจึงเขียนแผนการสอนจริงพารีค ยูได และราว (Pareek & Roa. 1980 : 94, อ้างถึงใน ธีรศักดิ์ อุบลรัตน์. 2543 : 20) กล่าวว่าการพัฒนา ชุดฝึกอบรม ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งมีอยู่ 7 ขั้น ดังนี้
1. ระบุปัญหาในเรื่องระดับความสามารถของ คนหรือองค์กร ที่วิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต้อง แก้ไข และสามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรม
2. กำหนดวิธีการในการฝึกอบรม เมื่อพิจารณาว่าการแก้ปัญหาต้องใช้วิธีการฝึกอบรม ผู้พัฒนา ชุดฝึกอบรมจะต้องกำหนดยุทธวิธีในการฝึกอบรมว่า ควรจะใช้รูปแบบและเทคนิควิธีใดในการฝึกอบรม
3. ระบุความจำเป็นในการฝึกอบรม นับว่ามีความสำคัญในการพัฒนาชุดฝึกอบรม เพราะจะทำให้ชุดฝึกอบรมนั้น มีวัตถุประสงค์ตรงกับปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม
4. พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เป็นขั้นตอนที่จะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ตรงกับปัญหาและความจริงของผู้เข้ารับการฝึกอบรมแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนสำคัญๆดังนี้คือ
4.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ดังกล่าวจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพราะ จะช่วยให้กำหนดเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการฝึกอบรม เป็นพื้นฐาน
4.2 การคัดเลือกเนื้อหา จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย เป็นสิ่งใหม่และเป็นที่น่าสนใจของผู้เข้ารับ การฝึกอบรม โดยพิจารณาจากวัยและระดับความรู้เดิมด้วย
4.3 การเลือกกิจกรรมการเรียนหรือประสบการณ์การเรียน นอกจากจะต้องเป็นการส่งเสริมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดแล้ว ประสบการณ์ที่จัดให้จะต้องน่าสนใจ และเป็นการส่งเสริมกันระหว่างประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้หลายทาง ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่สามารถลงมือ ปฏิบัติได้ด้วยตน เอง
4.4 เลือกสื่อในการฝึกอบรม การฝึกอบรมเป็นการให้ความรู้แก่บุคคลวิธีหนึ่งที่พึงประสงค์ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและเจตคติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ทำให้ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมเกิดความรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ในการให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ได้ดี ตามความต้องการนั้น จำเป็นต้องมีการสื่อความหมายที่ดี เป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้ให้การอบรมกับผู้รับการฝึกอบรม สื่อจึงนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ จากผู้พูดไปยังผู้ฟัง
5. สื่อที่กล่าวถึงนี้หมายถึง วัสดุ เครื่องมือ และวิธีการ สื่อที่ดีจะช่วยให้ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมเกิดความสนใจ และกระตุ้น การเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการอบรม ดังนั้นก่อนจะเลือกสื่อใดมาใช้ประกอบการฝึกอบรม ควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ คือ
5.1 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือไม่
5.2 เนื้อหาสาระของสื่อมีประโยชน์มีความสำคัญเพียงใด
5.3 มีความน่าสนใจหรือไม่
5.4 มีความทันสมัยน่าเชื่อถือเพียงใด
5.5 สามารถนำมาใช้ร่วมกับกิจกรรมการฝึกอบรมเหมาะสมเพียงใด เช่น เรื่องของข้อเท็จจริง สี และขนาด เป็นต้น
5.6 มีความถูกต้องและมีการสื่อความหมายที่ดีเพียงใด
5.7 ลักษณะของเนื้อหาและวิธีการนำเสนอสื่อนั้น ๆ เหมาะสมหรือไม่
5.8 คุณภาพด้านเทคนิคและความประณีตในการผลิตดีพอหรือไม่
5.9 สื่อดังกล่าวได้รับการทดลอง และยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้เพียงใด จากสถานการณ์เช่นไร มีความเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพียงใดในด้านวัย ความรู้ และประสบการณ์
6. ดำเนินการฝึกอบรม เป็นขั้นที่นำชุดฝึกอบรม ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เพื่อ ตรวจสอบเกี่ยวกับเนื้อ หา กิจกรรมการเรียนการสอนหรือยุทธวิธีที่นำมาใช้ สื่อและอุปกรณ์ประกอบการสอน การประเมินที่ใช้ระหว่างฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมว่า สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการฝึกอบรมว่าเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้หรือไม่
7. ประเมินผลการฝึกอบรม เป็นการประเมินจุดมุ่งหมายในด้านความรู้ และด้านการเปลี่ยนแปลงเจต คติและพฤติกรรมภายหลังจากการฝึกอบรม ทั้งนี้อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกต หรือทดสอบร่วมกันก็ ได้

กรอบความคิด
การวิจัยและพัฒนาเว็บบล็อกเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ และความพึงพอใจครั้งนี้ ทีมวิจัยใช้แนวคิดเชิงระบบในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย โดยเริ่มจากการประชุมปฏิบัติการทีมวิจัยและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อเตรียมความรู้พื้นฐาน ในด้านการจัดการความรู้ในองค์กร พร้อมกับทำความเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ของการจัดการความรู้ ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นปัจจัยนำเข้าต่อจากนั้น องค์กรเป้าหมายการวิจัยซึ่งประกอบด้วย กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ และองค์กร ซึ่งจะได้เข้าสู่กระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย คือ
ขั้นแรก เริ่มจากการประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วยกิจกรรม 2 กิจกรรม ได้แก่ การวิเคราะห์ทุนเดิมขององค์กร และการเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งเป็นขั้นตอน ของการศึกษาความเป็นไปได้ของการเข้าร่วมโครงการขององค์กรเป้าหมายการวิจัย
ขั้นที่สอง การพัฒนาการจัดการความรู้หลังจากที่ได้ทราบสภาพทุนเดิมขององค์กรแล้ว แต่ละองค์กรจะได้ดำเนินการในกิจกรรมพื้นฐาน 3 กิจกรรม ได้แก่ การจัดตั้งทีมจัดการความรู้ขององค์กร การวิเคราะห์ และตรวจติดตามความรู้ที่มีอยู่ทั้งในและนอกองค์กรเพื่อหาสินทรัพย์ความรู้ขององค์กร แล้วจึงพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะกับบริบทขององค์กร
ขั้นที่สาม การกระจายสู่การปฏิบัติและการประเมิน ในขั้นนี้แต่ละองค์กรจะมีรูปแบบการ
จัดการความรู้ที่เป็นต้นแบบไว้แล้ว และจะต้องทำกิจกรรมพื้นฐาน 2 กิจกรรม ได้แก่ การทดลองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พร้อมทั้งประเมินการทดลองรูปแบบเพื่อปรับปรุง
ขั้นที่สี่ คือ การแพร่ขยาย ซึ่งเป็นการแพร่ขยายภายในองค์กรเป้าหมาย 7 กองร้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้ โดยการแพร่ขยายนั้นนอกจากต้องการในเชิงปริมาณแล้ว ยังต้องการศึกษาวิธีการแพร่ขยายการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
ขั้นตอนทั้งสี่นี้ เป็นการวิจัยและพัฒนาที่เกิดขึ้นในองค์กรเป้าหมาย ขณะเดียวกันทีมวิจัย
จะทำหน้าที่เสมือนทีมที่ปรึกษาการวิจัยและพัฒนา พร้อมทั้งเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จและข้อมูลที่จะนำมาสู่การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในกองทัพบกต่อไปทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมา ถือเป็นส่วนของกระบวนการสำหรับผลลัพธ์ของการวิจัยประกอบด้วย
ประการที่ 1 มีระบบการจัดการความรู้ในกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ และที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ประการที่ 2 องค์กร การศึกษาเป้าหมายร้อยละ 80 ขึ้นไป รวมทั้งมีการจัดการความรู้ที่แพร่ขยายมาจากกลุ่มองค์กรต้นแบบ
ประการที่ 3 มีนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในกองทัพบก

ตารางที่ 1 ระยะเวลาดำเนินการใน 7 วัน ในภาพรวม ดังแสดงในตาราง 1

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการยุคของการสื่อสารไร้พรหมแดน ที่มีการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสาร และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ปัจจุบันการสื่อสารที่มีบทบาทอย่างมาก คือการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทั้งด้านการศึกษา ด้านธุรกิจการบริการ ด้านธรกิจการซื้อขาย และการติดต่อ สื่อสาร อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับ- ส่งข้อมูล ที่เหมือนกัน โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะเป็นตัวอักษรภาพนิ่งภาพเคลื่อน ไหว หรืออาจจะเป็นเสียงก็ได้ รวมทั้งยังมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่อยู่แหล่งเป็นการศึกษาพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์แก่สังคม
รูปแบบการให้บริการของอินเตอร์เน็ตคนทั่วไปเมื่อได้ยินคำว่า อินเตอร์เน็ต มักจะคิดถึงเว็บ World Wide Web(www) เป็นรูปแบบการให้บริการที่เป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นกราฟิกที่แสดงเว็บเพ็จจากสถานที่ต่างๆ ซึ่งสามารถอ่านข้อมูล ดาวน์โหลดไฟล์ ดูหนัง ฟังเพลง เติมข้อมูลในฟอร์ม โต้ตอบกับแอปพลิเคชัน (ที่เรียกว่า Appletsหรือ script)และค้นหาข้อมูล โดยแต่ละเว็บเพ็จจะมี แอ็ดเดรส(Address) เฉพาะที่ไม่เหมือนกัน และอีเมล์เท่านั้น เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เห็นบ่อยและใช้งานเป็นประจำ ความจริงการให้บริการที่เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตมีมากมาย ซึ่งคุณอาจจะเป็นผู้หนึ่งที่สนใจการให้บริการเหล่านี้ก็ได้ รูปแบบการให้บริการของอินเตอร์มี Electronic Mail (E-mail) เป็นรูปแบบการให้บริการที่ให้ผู้ใช้งานรับ-ส่งข้อมูลหรือแมสเสจ (Message) ที่เป็นข้อความไปยังผู้อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ผู้ส่งยังสามารถส่งไฟล์อื่น ๆ นวัตกรรมสร้างความสะดวกสบายให้แก่ทุกองค์กร ซึ่งต่างมีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคข่าวสารของผู้คน นวัตกรรมที่เห็นเด่นชัดก็คือ การทำสื่อออนไลน์อันได้แก่ เว็บไซต์ เพื่อเสนอข่าวให้ผู้คนได้รับรู้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากสื่อทั่วโลก ทุกประเภท ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ต่างก็มีเว็บไซต์เสนอข่าวสารที่เคยเผยแพร่ในสื่อหลักมาแล้ว รวมทั้งข่าวสารใหม่ๆ เพื่อให้คนใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลาเว็บไซต์ก็มีนวัตกรรม มาเพิ่มเรื่อยๆ เว็บไซต์ก็มีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองการสื่อสารของคนที่เข้ามาใช้บริการ โดยสร้างเว็บบล็อก (Weblog) ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ ให้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน ด้วยการเขียนตอบโต้กัน ต่อมา เว็บบล็อกก็มีนวัตกรรมเกิดขึ้น นั่นคือพัฒนามาเป็นบล็อก (Blog) แยกเป็นอิสระออกมาจากเว็บไซต์ เรียกกันว่าเป็นเว็บยุค 2.0 ที่ผู้อ่านมีส่วนในการสร้างเนื้อหา ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ Blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ ต่าง ๆ มากมาย
นโยบายการวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ฉบับเดิมโดยพิจารณาให้สอดคล้อง กับแผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2550-2556 ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศและแผนพัฒนากองทัพบก ปี 2550-2554 ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ.2550-2552 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) แผนยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ.2547-2556 ตลอดจนสภาพและ การเปลี่ยนทางเทคโนโลยี ให้มีการเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงมีขีดความ สามารถในการป้องกัน ป้องปราม และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สามารถยุติความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ฝ่ายเราเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยเน้นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างเหล่าทัพ พัฒนาความรู้ความสามารถของกำลังพล ให้การทุกส่วนราชการจะต้องเปิด Web Site ของหน่วย เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน โดยจะต้องรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยและถูกต้องอยู่ตลอดเวลา ทุกส่วนราชการจะต้องจัดให้มี Web Board และไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ตอบกลับในหน้า Web Site ของหน่วยเอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อ และมีสัมพันธ์กับหน่วยในการบริหารจัดการของกองทัพให้มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูง บริหารจัดการทรัพยากรของกองทัพในลักษณะรวมการพัฒนา และเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร เพื่อการพึ่งตนเองทางทหารการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ทางทหาร และนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้ใช้มาตรการจูงใจต่าง ๆ สนับสนุน เพื่อให้การดำเนินการเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จากนโยบายการวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก พ.ศ.2550-2556 ที่ 5/2550 เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีผลกระทบต่อกองทัพบกอย่างกว้างขวางมากมาย ซึ่งเป็นการวิวัฒน์ไปตามความเจริญทางเทคโนโลยีการสื่อสารวิทยาการ และข่าวสารต่างๆ ที่สามารถแพร่สะพัดไปตามส่วนต่างๆ ของโลก โดยปราศจากพรมแดนทางการเมือง ศาสนา วัฒนธรรม และระยะทางเป็นข้อจำกัด อันส่งผลให้เกิดการถ่ายเททางวัฒนธรรม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือกิจกรรม การดำเนินการของกองทัพบก ในการจัดสรรทรัพยากร ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร สู่ประชาชน หรือองค์กรต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรม (innovation) ซึ่งต้องอาศัยฐานความเข้มแข็งของทรัพยากรทางปัญญาเป็นสำคัญ ทำให้กิจกรรมการดำเนินการต่าง ๆ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยทหารในกองทัพบกอยู่ในวงจำกัด กำลังพลในกองทัพบก หรือประชาชนทั่วไปไม่สารมารถเข้าถึงข่าวสาร ที่เป็นกิจกรรมการดำเนินการองค์กรได้ เพราะสังคมโลกเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge based society and economy) ความรู้ของกำลังพลในกองทัพบก จึงเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของคุณภาพชีวิตกำลังพลในการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ และความสามารถ ที่จะทำให้กำลังพลในกองทัพบกปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาส่วนต่างๆ ของสังคมทหารได้ สภาวะแวดล้อมในระดับโลก และในระดับประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
จากปัญหาข้างต้นที่มีผลกระทบ ต่อรูปแบบการบริหารจัดการดังกล่าวจำเป็นต้องปรับปรุงพัฒนา การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และการดำเนินกิจกรรมของหน่วยทหารในกองทัพบกในการใช้นวัตกรรม (Innovation) ที่กำลังมาแรงไม่มีสิ้นสุด เพื่อตอบสนองนโยบายกองทัพบกเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ในการสื่อสารและเข้ามาใช้บริการ โดยสร้างเว็บบล็อก (Weblog) ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ ให้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน เพราะเว็บบล็อกก็มีนวัตกรรมเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาที่ผู้อ่านมีส่วนในการสร้างเนื้อหาบล็อก จึงทำให้เกิดทางเลือกที่จะนำนวัตกรรมทางเว็บบล็อกเป็นเครื่องมือ (Function) ในการใช้งานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านตัวหนังสือ มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ใส่ภาพ ใส่เสียง ใส่วิดีโอ มีการเผยแพร่ข้อมูลถึงกันและกันผ่าน Feed ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการประชาสัมพันธ์ การดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการที่เกิดขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกระแสของความเร่งด่วนที่จะต้องสร้างเสริมให้คนในชาติมีความรู้ และเข้าถึงบทบาทการดำเนินงานของกองทัพบก และหน่วยทหารในกองทัพบกได้ นอกเหนือจากการมีทรัพยากรพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ถึงเวลาที่ต้องปรับกลยุทธ์อย่างขนานใหญ่ เพื่อสร้างคุณภาพของการนำเสนอกิจกรรม การดำเนินการให้กับคนไทยทุกคนเข้าใจบทบาททหารมากขึ้น เพื่อตอบสนองแนวนโยบายของกองทัพบกที่ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ การป้องกันเชิงรุกในการจัดเตรียมกำลัง เสริมสร้าง พัฒนา และบริหารจัดการทรัพยากรทางทหารทั้งมวล ให้กองทัพสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความพร้อมในการใช้กำลังเพื่อการป้องปราม การแก้ไขปัญหาและยุติความขัดแย้ง
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โครงการนี้จึงมีแนวคิด ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ ได้นำหลักการและแนวทางการจัดการความรู้ (knowledge management) เรื่อง การพัฒนาเว็บบล็อกมาประยุกต์ใช้ ในการประชาสัมพันธ์ การดำเนินการกิจกรรม และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่กำลังพล และประชาชนทั่วไป และเพื่อแนวทางการศึกษาปรับปรุง มาประยุกต์เพิ่มพลังในการเรียนรู้ การเข้าถึงความรู้ การรู้จักเลือกใช้ ดัดแปลง ปรับปรุง ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิม และหรือสร้างความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลขององค์กรที่จัดและที่สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาเว็บบล็อกและ แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งความรู้ และจัดการความรู้ในทุกระดับ ในกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ และทุกมิติของหน่วยทหารในกองทัพบก เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิบัติการเชิงรุกในการให้กำลังพล และประชาชน ทั่วไปเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และการดำเนินการต่าง ๆ ในสังคมแนวคิดในการขับเคลื่อน กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ ดำเนินการจัดการอบรมความรู้เว็บบล็อกเพื่อให้เอื้อต่อการใช้ความรู้ในการทำงานตามขอบเขตความรับผิดชอบ มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางของการพัฒนาเว็บบล็อก เพื่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ โดยมุ่งในการประชาสัมพันธ์และพัฒนาความรู้ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ แต่ทว่าการพัฒนาเว็บบล็อก เพื่อประชาสัมพันธ์ และการศึกษา คุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้กับกำลังพลในกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ เป็นกระบวนการจัดการความรู้เรื่องใหม่สำหรับหน่วยงาน ในการพัฒนาเว็บบล็อก และสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาให้กับกำลังพลภายในองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถดำเนินการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และการริเริ่มสร้างสรรค์เว็บบล็อกขึ้นภายในองค์กรได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ ร่วมกับกองทัพบก จึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร ด้วยการใช้กระบวนการจัดการความรู้ โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการจัดการความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของบทบาท ภารกิจ และการจัดการองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการปฏิรูป การพัฒนา การศึกษา ซึ่งสอดคล้องตามประเด็นยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารและจัดการศึกษา อีกทั้งเป็นการสานเจตนารมณ์กระทรวง ศึกษาธิการปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการวิจัยกำหนดใช้กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ เป็นฐานการพัฒนา ศึกษา และเป็นกลไกให้เกิดการผลักดันการใช้เว็บบล็อก เพื่อการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการดำเนินการ และการศึกษา ในการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษา รวมทั้งเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ การส่งเสริมให้องค์กรทางการศึกษาใช้การจัดการความรู้ในการพัฒนางานทั้งองค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน หรือการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐานของการพัฒนาและการแข่งขันในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาเว็บบล็อกฝึกอบรมกำลังพลกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
2. เพื่อการประชาสัมพันธ์ภารกิจและกิจกรรรมกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมกำลังพลกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1
มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็น การฝึกอบรมกำลังพลกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ เพื่อประชาสัมพันธ์

คำถามการวิจัย/สมมติฐาน
เว็บบล็อกจะเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ เชิงรุกอย่างไร

ความสำคัญของการวิจัย
1.ได้แผนการเรียนรู้ การฝึกอบรมเว็บบล็อกและการประชาสัมพันธ์ ในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นแนวทางสำหรับกองทัพบกและกำลังพลผู้สนใจในการพัฒนาเว็บบล็อก
3. ได้พัฒนาทักษะกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านเว็บบล็อกในอนาคต ต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
1. ตัวแปรที่สำคัญในการศึกษา
1.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ เว็บบล็อก วิธีการอบรม แบบบรรยาย และปฏิบัติ
1.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอบรมด้านความรู้และทักษะปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมด้วยรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเว็บบล็อกที่สร้างขึ้น
2. ประชาการ
จากการศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ (feasibility study) เพื่อกำหนดกลุ่มองค์กรทางการศึกษาที่เป็นองค์กรเป้าหมายของการวิจัย เมื่อเดือน มกราคม ถึงพฤษภาคม 2552 สรุปเป้าหมายของการวิจัย ได้ดังนี้
2.1 กองทัพบกโดย กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ ใช้กองร้อยปืนเล็กที่ 7 กองร้อย เป็นพื้นฐานที่อยู่ในเขตกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย
2.2 กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ มีการขยายผลรูปแบบการจัดการฝึกอบรมความรู้ ที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับกำลังพลขององค์กรในการพัฒนาเว็บบล็อก ภายในได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวน 7 กองร้อยปืนเล็ก จำนวนกำลังพล 1,200 นาย เลือกอย่างเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นดังนี้
2.2.1 ภาวะผู้นำของผู้บริหาร
2.2.2 เป็นเจ้าหน้าที่ด้านข้อมูล
2.2.3 สมัครใจเข้าร่วมโครงการทั้งนี้ จากการศึกษาความเป็นไปได้ขององค์กร
2.3 กลุ่มเป้าหมายที่เลือกมาอย่างเฉพาะเจาะจงนั้น ได้กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 7 กองร้อย จำนวน 35 นาย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
2.3.1 กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประจำ
2.3.2 กลุ่มเว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูแลเว็บบล็อก

ขอบเขตของเนื้อหา
1. เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกอบรมเว็บบล็อก และประชาสัมพันธ์ คือ เรื่องการ พัฒนาเว็บบล็อกและพัฒนาเทคนิคการใช้บล็อก ประกอบด้วย
1.1 การจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับเว็บบล็อก
1.2 การจัดการเรียนรู้ที่ 2 การจัดองค์ประกอบหน้าเว็บบล็อกความรู้เกี่ยวกับเว็บบล็อก
1.3 การจัดการเรียนรู้ที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหน้าเว็บบล็อก
1.4 การจัดการเรียนรู้ที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา HTML
1.5 การจัดการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างลิ้งก์ (Link)ภายในและภายนอก
1.6 การจัดการเรียนรู้ที่ 6 การเผยแพร่บทความและการป้องกันบทความ
1.7 การจัดการเรียนรู้ที่ 7 การสรุปและนำเสนอผลงาน
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรม จำนวน 7 วัน

นิยามศัพท์
บล็อก หรือ เว็บบล็อก (blog / weblog) หมายถึง หน้าหลักของเว็บไซต์ สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวัน เพื่อสื่อสารความรู้สึก ความคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การจัดการความรู้ (knowledge management) หมายถึง กระบวนการ (process) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถค้นหา (find) คัดเลือก (select) จัดระบบ (organize) แพร่ขยาย (disseminate) และถ่ายโอน (transfer)สารสนเทศและความชำนาญ เพื่อสร้างขุมความรู้และภูมิปัญญาที่จำเป็น
การพัฒนาทักษะ หมายถึง การปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีความชำนาญหรือรู้จริงถูกต้อง
ยุทธศาสตร์ หมายถึง แนวทางในการบรรลุจุดหมายของหน่วยงาน ดังนั้น จุดหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการจัดทำยุทธศาสตร์ โดยผู้จัดทำจำเป็นต้องกำหนด จุดหมายของหน่วยงานให้ชัดเจน เพื่อให้ยุทธศาสตร์ที่ได้ออกมานั้นตรงตามความต้องการ และดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง
กลยุทธ์ หมายถึง สิ่งที่หน่วยงานจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ โดย กลยุทธ์นี้ จะกำหนดขึ้นจากการพิจารณาปัจจัยแห่งความสำเร็จ (critical success factors) เป็นสำคัญ กล่าวคือ ต้องพิจารณาว่าในการที่จะบรรลุเป้าประสงค์ข้อหนึ่ง ๆ นั้น มีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความสำเร็จ และเราจำเป็นต้องทำอย่างไร จึงจะไปสู่จุดนั้นได้
การปฏิบัติงานสู่เป้าหมายรูปแบบ หมายถึง แนวคิด ระบบ โครงสร้าง และวิธีปฏิบัติในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ขององค์กร
กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ หมายถึง หน่วยทหารในกองทัพบก ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการถวายความปลอดภัย และถวายพระเกียรติ แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
กองร้อยปืนเล็ก หมายถึง หน่วยทหารที่ควบคุมยอดกำลังพลเป็นหมวด หมู่ และเป็นชุด
โดยใน 1 กองร้อยปืนเล็ก มีกำลังพลไม่ถึง 600 นาย
เจ้าหน้าที่ หมายถึง ข้าราชการประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแผนกงานต่าง ๆ
กำลังพล หมายถึง ข้าราชการทหารประจำการในกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ
องค์กร หมายถึง กองร้อยปืนเล็กทั้ง 7 กองร้อย
ประสิทธิภาพขององค์กร หมายถึง การดำเนินงานขององค์กรเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ เป้าหมายของงาน เป้าหมายของการพัฒนาคน และเป้าหมายการพัฒนาองค์กร
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หมายถึง
80 ตัวแรก หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยรวมของกำลังพลที่เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนที่ได้จาก แบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
80 ตัวหลัง หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของกำลังพลที่ได้จากการ ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ผลลัพธที่เกิดขึ้นจากการกระทํา หรือ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัดของผลผลิต และผลสำเร็จตามตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่บรรลุตามเป้าหมาย
ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือความชอบของกำลังพลที่มีต่อการจัดกิจกรรม การฝึกอบรม และเต็มใจ มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติกิจกรรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินการขององค์กร
2. เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในองค์ในการใช้เว็บบล็อกอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการวิจัย ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการและ
ให้เกิดประโยชน์ขึ้น

สารบัญ

สารบัญ

บทที่ หน้า

บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ 4
คำถามการวิจัย/สมมติฐาน 5
ความสำคัญของการวิจัย 5
ขอบเขตการวิจัย 5
ขอบเขตของเนื้อหา 6
นิยามศัพท์ 7
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 8

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารการพัฒนาเว็บบล็อก 9
เอกสารนโยบายกองทัพบก 16
กองทัพบกกับประชาชน (G2C ) 17
เอกสารเกี่ยวกับแผนการเรียนรู้ KM 18
องค์ประกอบสำคัญของการจัดความรู้(Knowledge Process) 21
ขั้นตอนในการพัฒนาชุดฝึกอบรม 23
กรอบความคิด 27
เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 30
ลักษณะสำคัญของโครงงาน 31
ขั้นตอนการทำโครงงาน 33
แผนการจัดกิจกรรมโครงงาน 34
เอกสารเกี่ยวข้องกับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 39
เอกสารที่เกี่ยวกับดัชนีประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผล 41
เอกสารที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ 45
เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 48


สารบัญ (ต่อ )

บทที่ หน้า

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 53
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 53
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า 53
วิธีการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 54
ขั้นตอนดำเนินการศึกษาค้นคว้า 60
การวิเคราะห์ข้อมูล 61
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 61
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 62
การหาคุณภาพเครื่องมือ 63

บทที่ 4 สรุปผลการวิจัย 70
สรุปผลการวิจัยสรุป (Conclusion) 76
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 78
ภาคผนวก 79
ผนวก ก แบบสอบถามและแบบทดสอบ 80
ผนวก ข แบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 97

บรรณานุกรม 101

ประวัติผู้จัดทำ โครงงาน 103

สารบัญตาราง

บทที่ หน้า

บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตารางที่ 1 ระยะเวลาดำเนินการใน 7วัน 28
ตารางที่ 2 กรอบแนวความคิดการวิจัย 29
ตารางที่ 3 แผนผังที่ 1 งานวิจัย AsiaBUS(2006) 50
ตารางที่ 4 ตารางเฉลี่ย ผลการวิจัย AsiaBUS(2006) 51

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ตัวอย่างแบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร 65
ตารางที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล 68

บทที่ 4
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 70
ตารางที่ 2 จำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามคุณวุฒิ 71
ตารางที่ 3 จำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกประสบการณ์ 71
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 71
ตารางที่ 5 จำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามจำนวนบุคลากร 72
ตารางที่ 6 จำนวนร้อยละการติดตามกิจกรรม 72
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเหตุผล 72
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทำเว็บบล็อก 73
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลำดับความสำคัญของข่าว 73
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลำดับกลุ่มเป้าหมาย 73
ตารางที่ 11 จำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างรูปแบบเว็บบล็อก 74
ตารางที่ 12 จำนวนร้อยละการแสดงความคิดเห็น 74
ตารางที่ 13 จำนวนร้อยละของการใช้จำนวนเนื้อหาหรือกราฟิก 74
ตารางที่ 14 จำนวนร้อยละขององค์ประกอบเว็บบล็อก 75
ตารางที่ 15 จำนวนร้อยละของสื่อที่ใช้การประชาสัมพันธ์ 75
ตารางที่ 16 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มภาษาตัวอย่าง 75
ตารางที่ 17 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับการได้มา 76
ตารางที่ 18 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับทีมงาน 76

บทคัดย่อ IS

บทคัดย่อ

บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาการพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อการฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ ของโครงการ พัฒนาเว็บบล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อกองทัพบก และกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ
การค้นคว้ามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อการฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ของกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ ที่เข้าร่วมในโครงการพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อการประชาสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูแลเว็บบล็อกของกองร้อยปืนเล็กที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อการฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ เพื่อกองทัพบก และกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ ปี พ.ศ. 2552 จำนวน 35 นาย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า คือ
แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการค้นคว้าพบว่า
1. เว็บมาสเตอร์ หรือ ผู้ดูแลเว็บบล็อกส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำกองบังคับการกองร้อย และทำเว็บบล็อกคนเดียว โดยความรู้ในการทำเว็บบล็อกได้มาจากการศึกษาเองจากตำราและเข้าร่วมโครงการอบรมของหน่วยงาน
2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้เว็บบล็อกเกอร์(Blogger) และโปรแกรมภาษา HTML ในการทำเว็บบล็อก ส่วนงานกราฟิกใช้ชุดซอฟต์แวร์ของ Adobe PhotoShop และสร้างภาพเคลื่อนไหว
ด้วยชุดชอฟต์แวร์ของ GIF Animator
3. เนื้อหาของเว็บบล็อกส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือ กำลังพล และประชาชนทั่ว
4. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าหน้าโฮมเพจควรเป็นแบบหน้าเดียว ส่วนเมนูควรเป็นแบบตัวอักษรขนาดของตัวอักษรสำหรับหัวข้อควรเป็นแบบตัวหัวกลม เช่น AngsanaUPC, CordiaUPC ขนาด 18 พอยต์ และตัวอักษรเนื้อหาควรเป็นแบบ MS Sans Serif หรือ Tahoma ขนาด 14 พอยต์
5. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้เว็บบล็อกเกอร์ (Blogger) เป็นบล็อกฟรีในการบริหารเว็บบล็อก
Google